จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตะขบ ผลไม้ไทย

 

 

ตะขบ ผลไม้ไทย

ตะขบฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntingia calabura) เป็นพืชเพียงสปีชีส์เดียวในสกุล Muntingia เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของเม็กซิโก บริเวณทะเลแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ฝั่งตะวันตก จนถึงเปรูและโบลิเวีย พบกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย





  ตะขบฝรั่งเป็นไม้ต้น ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-7 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีขนปกคลุม ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม เมื่อจับยอดอ่อนจะรู้สึกว่าเหนียวมือ ใบเดี่ยว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่น เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ ดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง ผลทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อดิบสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน เมล็ดขนาดเล็ก ๆ มีจำนวนมาก




 ผลตะขบฝรั่งเป็นที่นิยมรับประทานในเม็กซิโก มีขายในตลาด ผลนำไปแปรรูปเป็นแยมและนำใบไปแปรรูปเป็นชา ในบราซิล นิยมปลูกไว้ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อผลร่วงลงในน้ำจะเป็นอาหารปลา ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ รับประทานเป็นผลไม้สดแต่ไม่มีจำหน่าย ในไทย รับประทานเป็นผลไม้สด หรือแปรรูปเป็นไวน์ทางด้านสมุนไพร ใช้ดอกเป็นยาแก้ปวดและแก้อักเสบ ไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้งานช่างไม้ได้ เปลือกใช้เป็นแหล่งของเส้นใย


ลักษณะสมุนไพร :
ตะขบฝรั่งเป็นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงประมาณ 5-7 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีจะมีขนนุ่มปกคลุม และปลายเป็นตุ่ม เมื่อจับยอดอ่อนจะรู้สึกว่าเหนียวมือ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่น เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง ผลทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อดิบสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน เมล็ดขนาดเล็ก ๆ มีจำนวนมาก


ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกลำต้น, ใบ, ดอก และ ผล
สรรพคุณทางยา :

    ราก กล่อมเสมหะ และอาจม
    เปลือกลำต้น ช่วยเป็นยาระบาย
    ใบ ช่วยขับเหงื่อ
    ดอก แก้ปวดศรีษะ แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการไข้
    ผล ต้านโรคมะเร็ง บำรุงกำลัง  ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ





วิธีการใช้ :

    กล่อมเสมหะ และอาจม นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
    ยาระบาย นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
    ช่วยขับเหงื่อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
    แก้ปวดศรีษะ แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการไข้  นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
    ต้านโรคมะเร็ง บำรุงกำลัง  ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ  นำผลสดๆมารับประทานหรือคั้นกับน้ำ